รู้จักและติดตั้ง Jenkins เครื่องมือยอดนิยมสำหรับทำ CI/CD

     Jenkins คือ Tools ประเภท Server-Based Application สำหรับการทำ Deployment แบบอัตโนมัติโดยทำงานตามหลักการของ CI/CD(Continuous Integration/Continuous Delivery) เพื่อแก้ปัญหากระบวนการรวม Code เข้าด้วยกันของ Developer สามารถลดระยะเวลาทำงานและส่งมอบซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ Jenkins นั้นถูกสร้างขึ้นจากภาษา Java เป็นซอฟต์แวร์ Open Source หรือสามารถใช้งานได้ฟรีและสามารถติดตั้งผ่าน Docker ได้ การทำงานแบบอัตโนมัติของ Jenkins นั้นสามารถทำงานได้ตั้งแต่ Build, Test และ Deploy ซอฟต์แวร์ นั้นหมายความว่าทุกๆครั้งที่เรามีการ Commit Code เกิดขึ้น Jenkins จะทำการ Build และ Test ให้โดยอัตโนมัติจากรวมถึงแก้ผลไปยัง Developer ทำให้เราได้รับการแจ้งเตือนทันทีว่า Code ที่เรา Commit ไปนั้นมีปัญหาหรือไม่

     จากภาพสภาพสถาปัตยกรรมของ Jenkins จะพบว่า Developer แต่ละคนต้องการ Commit Code ไปยัง Repository เช่น GitHub จากนั้น Jenkins Server จะเริ่มทำการ Build Code หาก Build Fail ก็จะแจ้งเตือนไปยัง Developer นอกจากการ Build แล้ว Jenkins เรายังสามารถเขียน Scripts ขึ้นมาทดสอบโดยเชื่อมผ่าน Jenkins ได้อีกด้วยเช่นเขียน Selenium ขึ้นมาเพื่อทดสอบ หากทดสอบ Fail ก็จะมีการแจ้งเตือนแต่หากทุกอย่างผ่านหมดก็สามารถ Deploy ไปยัง Production ได้เลย

Jenkins Architecture

วิธีการติดตั้ง Jenkins(Mac)

Step1: ติดตั้ง Homebrew เป็น Package ตัวหนึ่งช่วยในการติดตั้งโปรแกรมให้ง่ายขึ้น
/usr/bin/ruby -e "$(curl -fsSL https://raw.githubusercontent.com/Homebrew/install/master/install)"
Step2: เนื่องจาก Jenkins ถูกสร้างด้วย Java ดังนั้นต้องมีการติดตั้ง Java ลงไปด้วย
brew install java
Step3: จากนั้นติดตั้ง Jenkins แบบ LTS(Long-Term Support) ปกติแล้ว​ Jenkins จะถูกติดตั้งไว้ที่ Port 8080

brew install jenkins-lts

Step4: Start Jenkins Service ขึ้นมา

brew services start jenkins-lts
จากนั้นเปิด Web Browser ขึ้นมาแล้วพิมพ์

http://localhost:8080/

จะแสดงหน้าเว็บดังนี้


ค้นหา Password ตาม Path ที่แสดงแล้วคัดลอกรหัสผ่านหรือพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้เพื่อหา Administrator Password

cat /Users/YOUR_USER_NAME/.jenkins/secrets/initialAdminPassword

Step5: เลือก Install suggested plugins จากนั้นโปรแกรมจะเริ่มติดตั้ง Plugins ต่างๆให้




เมื่อติดตั้งเสร็จจะแสดงดังภาพ



เริ่มสร้าง Jenkins Job

Step1: เลือก Create a job

Step2: ตั้งชื่อ item name จากนั้นเลือก Freestyle project


Step3: โดยทั่วไปแล้วหากเรา Dev เสร็จแล้ว Source Code จะถูกเก็บไว้ใน Repository ซึ่ง Github ก็เป็น 
Repository  ตัวหนึ่ง ในขั้นตอนนี้จะเป็นการเชื่อมต่อ Jenkins กับ Github ส่วนของ Source Code Management คลิ๊กที่ Git แล้ว Copy Source Code จาก Github มาวาง หลังจากนั้นกด Save


Step4: ทดลองกด Build Now เมื่อกดแล้ว Jenkins จะ Run Project ที่อยู่ใน Github เมื่อ Run ผ่าน Build แต่ละรอบจะถูกเก็บไว้ตรง Build History และหน้า Dashboard จะแสดงสถานะล่าสุดของการ Build





 



ป้ายกำกับ

แสดงเพิ่มเติม

บทความยอดนิยม

Software Development Life Cycle (SDLC) คืออะไร ทำไมจำเป็นต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์

ม.ปลายอยากเข้าสายคอม วิทยาการคอม วิศวกรรมคอม เตรียมตัวอย่างไร ต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง

Automation testing หรือ การทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อการทดสอบซอฟต์แวร์

วิธีเก็บ วิเคราะห์ รวบรวม requirement อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

Performance Test คือ อะไร วัดประสิทธิภาพของระบบ ล่มไม่ล่ม จะรู้ได้อย่างไร

8 สิ่งที่ AI จะมาเปลี่ยนโลกในอนาคต

ถอดรหัสความลับเครื่อง Enigma จุดเริ่มต้นและจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2