MACD คืออะไร
MACD(Moving Average Convergence & Divergence) คือ Indicator พื้นฐานที่นักลงทุนนิยมใช้กันมากที่สุด เพื่อใช้ดูแนวโน้มของราคาหุ้น(Trend) และแรงส่งของราคาหุ้น (Momentum) MACD จะนำเส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นมาตัดกันและแสดงเป็นกราฟ หากเส้นค่าเฉลี่ยตัดขึ้นแสดงถึงแนวโน้มขาขึ้นแต่หากเส้นค่าเฉลี่ยตัดลงก็แสดงถึงแนวโน้มขาลงเช่นกัน
ส่วนประกอบของ MACD
- Singal Line คือเส้นค่าเฉลี่ย EMA9 โดยนำค่าย้อนหลัง 9 แท่งมาคำนวณค่าเฉลี่ย
- MACD เป็นการนำเอาเส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นมาแล้วดูระยะห่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยและเส้น Exponential(EMA) โดยจะคำนวณจาก EMA(12) - EMA(26)
- MACD Histogram แสดงให้เห็นระยะห่างระหว่างเส้น MACD และเส้น Signal Line จากนั้นนำมาแสดงเป็นกราฟแท่ง ยิ่งกราฟแท่งสีเขียวยิ่งยาวแสดงถึงแรงซื้อที่แข็งแกร่ง แต่ในทางตรงกันข้ามยิ่งแท่งสีแดงยาวเท่าไหร่แสดงถึงแรงขายที่มากขึ้นตาม ปกติแล้ว MACD Histogram จะมีค่า 0 เป็นตัวเทียบ หากเส้นอยู่เหนือ 0 แสดงกราฟแท่งสีเขียว หากเส้นอยู่ต่ำกว่า 0 แสดงกราฟแท่งสีแดง
- MACD ตัดขึ้น แสดงถึงเส้น MACD ตัดเส้น Signal Line ขึ้นไปแสดงถึงสัญญาณการซื้อ
- MACD ตัดลง แสดงถึงเส้น MACD ตัดเส้น Signal Line ลงไปแสดงถึงสัญญาณการขาย
การคำนวณของ MACD
MACD = 12-Period EMA − 26-Period EMA เป็นการนำค่า EMA(12) ลบกับ EMA(26) แล้วจะได้ค่า MACD ออกมาจากนั้นนำไปสร้างเป็นกราฟ
Signal Line = EMA(9) ของ MACD โดยทั่วไปแล้ว 9 แท่งย้อนหลังจะเป็นค่ามาตรฐานที่จะนำมาใช้ในการคำนวณค่าเฉลี่ย
MACD Histogram = MACD - Signal Line
การตั้งค่า MACD
- Fast Length 12 และ Slow Length 26 จากสูตรของ MACD นั้นจะนำ EMA(12) และ EMA(26) มาคำนวณ ยิ่งปรับค่ามากจะทำให้ใช้แท่ง EMA มาคำนวณมากตาม ทำให้จุดตัดของเส้นสองเส้นเปลี่ยนไปและรอยหยักของเส้นจะน้อยลง
- Source คือการเลือกจะว่านำราคาใดของหุ้นมาคิด โดยทั่วไปแล้วจะใช้ราคาที่หุ้นปิดมาคิดแต่เราก็สามารถปรับเปลี่ยนได้เช่น นำราคาเปิด ราคาสูงสุด ต่ำสุดมาคิด
- Signal Smoothing คือการตั้งค่า Signal Line ซึ่งปกติแล้วจะใช้ EMA(9) ยิ่งปรับค่า EMA มาก การแสดงผลกราฟ MACD Histogram ก็จะมากขึ้นตาม
- Oscillator MA Type และ Signal Line MA Type จากที่เราทราบว่า MACD นั้นจะใช้ค่าจาก EMA มาคำนวณแต่ทั้งนี้ก็สามารถเปลี่ยนไปใช้วิธีการคิดค่าเฉลี่ยจากเส้นอื่นได้ เช่น SMA ซึ่ง EMA นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาจาก SMA เป็นการหาค่าเฉลี่ยแบบไม่ถ่วงน้ำหนักทำให้การคำนวณจะช้ากว่า EMA ปัจจุบันนิยมใช้ EMA มากกว่าเพราะคำนวณเร็วกว่า SMA
Divergence ใน MACD
Divergence เป็นการดูทิศทางของราคากับ Indicator หากเป็นไปในทิศทางเดียวกันจะเรียกว่า Convergence แต่หากมีทิศทางตรงกันข้ามก็เป็นไปได้ 2 กรณีคือ Bullish Divergence หากเกิดสัญญาณนี้แสดงถึงแนวโน้มว่าราคาอาจจะวิ่งขึ้นไป ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือ Bearish Divergence แสดงถึงราคาที่อาจจะปรับตัวลง
Bearish Divergence คือราคาปรับตัวสูงขึ้นแต่ Indicator ปรับตัวต่ำลง (เส้นสีแดง) ส่งผลให้ราคาปรับตัวต่ำลง
Bullish Divergence คือราคาปรับตัวต่ำลงแต่ Indicator ปรับตัวสูงขึ้น (เส้นสีแดง) ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น
ข้อควรระวังเกี่ยวกับ MACD
- ไม่ควรใช้จุดตัดของ MACD เพียงอย่างเดียว มาเป็นเงื่อนไขในการเข้าซื้อหรือขายหุ้นเพราะหาก MACD ตัดขึ้นอาจจะขึ้นเพื่อพักฐาน(ราคาเคลื่อนที่ออกข้าง) แล้วราคาก็เคลื่อนที่ลงต่อ
- การเกิด Divergence ที่ MACD อาจจะส่งผลได้ 2 กรณีคือราคาพักตัวหรือราคากลับตัว ดังนั้นการเกิด Divergence ไม่ได้เป็นการยืนยันเสมอไปว่าราคาจะกลับตัวไปในทิศทางตรงข้ามกับ Trend
- MACD เป็น Indicator ที่ไม่เหมาะกับ Time Frame เล็กๆ เช่น 5M 15M 20M เพราะค่าความไม่แม่นยำยิ่งมีสูง MACD เหมาะกับ Time Frame ใหญ่ๆ เช่น 4H DAY WEEK MONTH เป็นต้น เพราะ MACD ใช้การคำนวณจากเส้นค่าเฉลี่ยสูงสุดถึง 26 แท่งย้อนหลัง ดังนั้นยิ่งการใช้ MACD ใน Time Frame ใหญ่จะมีความแม่นยำเพิ่มขึ้น
- ประสิทธิภาพของ MACD จะลดลงในกรณีที่ราคาเคลื่อนที่ออกไปด้านข้าง(Side Way) ซึ่งในกรณีนี้จะทำให้เกิดการส่งสัญญาณผิดพลาดค่อนข้างสูง