เลโอนาร์โด ฟีโบนัชชี (Leonardo Fibonacci) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี มีผลงานด้านคณิตศาสตร์และการเงิน ในบทความนี้จะมาเจาะลึกการค้นพบตัวเลขฟีโบนัชชี ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติจนนำไปสู่เครื่องมือวิเคราะห์การลงทุนที่มีประสิทธิภาพอย่าง Fibonacci retracement
เลขฟีโบนัชชีคืออะไร
เลโอนาร์โด ฟีโบนัชชี ค้นพบเลขฟีโบนัชชีที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติโดยค้นหา จำนวน รูปร่าง สัดส่วน จำนวนของสิ่งต่างๆที่อยู่ในธรรมชาติแล้วหาความสันพันธ์ซึ่งจะได้เลขชุดหนึ่งที่เกิดขึ้นซ้ำๆในวัตถุที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ขดหอยทาก ใบไม้ จำนวนเกสรดอกทานตะวัน จำนวนตาสับปะรด
ในเมล็ดทานตะวันจะมีเกลียวหมุนตามเข็มนาฬิกาจะมีจำนวน 55 เมล็ด ส่วนเมล็ดที่หมุนทวนเข็มนาฬิกาจะมีจำนวน 89 เมล็ด
จำนวนกลีบของดอกเดซีที่มีจำนวนกลีบใกล้เคียงกับเลขฟีโบนัชชี เช่น 21 กลีบ 34 กลีบ
หากนำกระต่ายมาผสมพันธุ์กัน แล้วนับจำนวนคู่ของกระต่ายที่เกิดมาจะพบว่าจำนวนคู่ของกระต่ายที่เกิดมานั้นตรงกับเลขฟีโบนัชชี | ที่มา
เลขฟีโบนัชชีคือเลขลำดับของจำนวนเต็มโดยมีแนวคิดคือจะนำเลขปัจจุบันบวกกับเลขก่อนหน้าและสองจำนวนแรกคือ 0 กับ 1 เช่น
0 1 1 2 3 5 8 13 21 34 55 89 144 233 ...
หลักแรก 0
หลักที่สอง 0+1 = 1
หลักที่สาม 1+1 = 2
หลักที่สี่ 2+1 = 3
หลักที่ห้า 3+2 = 5
หลักที่หก 5+3 = 8
...
เลขลำดับเลขฟีโบนัชชี | ที่มา นอกจากนั้นยังพบความมหัศจรรย์ของตัวเลขจากการหารกันของตัวเลขฟีโบนัชชีดังนี้
นำหลักปัจจุบันหารหลักก่อนหน้าจะได้ค่าที่ใกล้เคียงกับ 1.618
- 13 หาร 8 = 1.618
- 21 หาร 13 = 1.618
- 34 หาร 21 = 1.618
นำหลักก่อนหน้าหารหลักปัจจุบันจะได้ค่าที่ใกล้เคียงกับ 0.618
- 8 หาร 13 = 0.618
- 13 หาร 21 = 0.618
- 21 หาร 34 = 0.618
ใช้สองหลักถัดไปเป็นตัวหารจะได้ค่าที่ใกล้เคียงกับ 0.382
- 34 หาร 55 = 0.382
- 55 หาร 89 = 0.382
- 89 หาร 144 = 0.382
ใช้สามหลักถัดไปเป็นตัวหารจะได้ค่าที่ใกล้เคียงกับ 0.236
- 21 หาร 89 = 0.236
- 34 หาร 144 = 0.236
- 55 หาร 233 = 0.236
Fibonacci retracement คืออะไรใช้ในการวิเคราะห์หุ้นได้อย่างไร
จากความมหัศจรรย์ของ Fibonacci นั้นได้ถูกนำตัวเลขเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลทางเทคนิคเช่น หุ้น ทองคำ ค่าเงิน เป็นต้น โดยจะใช้ตัวเลขของ Fibonacci มาดูแนวโน้มขึ้นลงของราคา ในกราฟ Fibonacci retracement นั้นจะมีตัวเลขต่างๆเพื่อไว้ดูแนวรับแนวต้านซึ่งประกอบไปด้วย
0 = เป็นจุดเริ่มต้นของเส้นราคาที่เอามาคำนวณ
0.236 = เป็นแนวรับแนวต้านแรก ราคามักจะผ่านเส้นนี้ไปได้ปกติ
0.382 = เป็นแนวต้นที่สอง
0.5 = เป็นแนวรับแนวต้านหลัก ราคามันจะมาทดสอบเส้นนี้จะเป็นตัวตัดสินว่าราคาจะไปต่อหรือไม่
0.618 = เป็นด่านสุดท้ายของการทดสอบราคาหากผ่านเส้นนี้ไปได้ก็จะสามารถทดสอบที่ 1 ได้อย่างง่าย
0.786 = เมื่อราคาผ่าน 0.618 มักจะผ่านเส้นนี้ไปได้ไม่ยาก
1 = เป็นราคาเป้าหมายของราคาจะมาทดสอบ
1.68 = เมื่อราคาผ่านเส้น 1 มาแล้ว ราคาจะมาทดสอบที่ระดับเส้นนี้ต่อไป
การตีเส้นเพื่อหาแนวต้าน
การตีเส้นเพื่อหาแนวต้านจะใช้หาว่าราคาจะขึ้นไปได้อีกเท่าไหร่ จากรูปภาพเราต้องการแนวต้านโดยเริ่มจากการลากจุดสูงสุดของปลายคลื่นก่อนหน้าที่มีการพักตัวลงมา (แท่งเทียนสีแดงที่ราคาไปทดสอบที่ 1) ยังจุดที่ต่ำที่สุดของราคา (แท่งเทียนสีแดงที่ราคาไปทดสอบที่ 0) เมื่อลากเสร็จแล้วจะสังเกตุว่า 1 จะอยู่ด้านบน 0 จะอยู่ด้านราคา จากรูปเมื่อราคาขาลงไปทดสอบเส้น 0 จบแล้วและราคาเริ่มมีการกลับไป เราจะลากดูว่าราคาจะผ่านไปได้ที่ระดับใดบ้าง จะสังเกตุเห็นว่าราคามีการพักตัวอยู่แถวๆ 0.6 ถึง 0.618 ค่อนข้างนานหลังจากผ่านไปแล้วก็แตะที่เส้น 1 จากนั้นราคาขึ้นไปทดสอบเส้น 1.68 ต่อไป
การตีเส้นเพื่อหาแนวรับ
การตีเส้นเพื่อหาแนวรับจะใช้หาว่าราคาจะลงไปได้อีกเท่าไหร่ เริ่มจากจะพิจารณาจากเส้นที่กราฟพุ่งลงโดน 0 อยู่ด้านบนและ 1 จะอยู่ด้านล่าง เมื่อราคาในขาลงแตะที่เส้น 1 แล้วราคาเริ่มมีการกลับตัวขึ้นเป็นแนวระดับของเส้น Fibonacci ซึ่งจุดสำคัญของเส้นนี้จะพบว่าราคาพยายามที่จะผ่านเส้น 0.68 ไปแต่ปรากฏว่าไม่สามารถผ่านไปได้ทำให้ราคากลับตัวลงอีกครั้งและราคาหลุดที่เส้น 1 ไปแล้วราคาก็ไหลลงไปลึกมากที่เส้น 1.68 และราคาพักตัวแต่พยายามจะผ่านแต่ก็ไม่สามารถผ่านไปได้ทำให้ราคาทดสอบลึกที่เส้น 2.618 เลยทีเดียว