- ภาษาอังกฤษ หลายๆมหาวิทยาลัยนั้นจำเป็นต้องมีผลสอบตามเกณฑ์ก่อนเข้าเรียน เช่น จุฬา จะใช้ผล CU-TEP ธรรมศาสตร์จะใช้ผล TU-GET และแต่ละคณะกำหนดเกณฑ์ขึ้นมาว่าแต่ละคณะจะใช้ผลคะแนนเท่าไหร่ ซึ่งหากคณะไหนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษมากหรือเป็นหลักสูตรนานาชาติก็จะใช้ผลสอบภาษาอังกฤษมากขึ้นตาม ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยอื่นๆก็มักจะใช้ผลสอบ toeic, toefl, ielts เป็นเกณฑ์ในการรับเข้าเรียนเช่นกัน ดังนั้นใครวางแผนจะเรียน ป.โท แล้วสามารถเตรียมตัวเรียนภาษาได้ก่อนเลย
- ผลสอบข้อเขียน บางคณะจะมีการจัดสอบข้อเขียนเพื่อนประเมินเราก่อนเข้าเรียนว่าเรามีความรู้พื้นฐานเพียงพอที่จะสามารถเรียนได้หรือไม่ ข้อเขียนของ ป.โท นั้นไม่ได้ยากหรือแข่งขันกันมากเหมือนกับ ป.ตรี เพราะจะไปเจอความยากในส่วนอื่นแทน ส่วนใหญ่จะวัดเฉพาะความรู้พื้นฐาน ว่าเรามีความรู้พื้นฐานเพียงพอในสาขาวิชาที่เราจะเรียนหรือไม่ บางมหาวิทยาลัยหรือบางคณะก็ไม่มีการจัดสอบข้อเขียนอาจจะมีสัมภาษณ์เพียงอย่างเดียว
- สัมภาษณ์ ส่วนนี้ก็เป็นส่วนสำคัญเหมือนกันการสัมภาษณ์เข้าเรียน ป.โท นั้นก็จะคล้ายๆกับการสัมภาษณ์งานเลย ส่วนใหญ่มักจะถามว่าทำอะไรมา เรียนไปจะเอาไปทำอะไร มีเวลาเรียนไหม ใครเป็นคน support ด้านการเรียนบ้าง หรือมีงานวิจัยอะไรที่เคยทำมาบ้างและอยากทำงานวิจัยอะไรต่อ ผลจากการสัมภาษณ์นั้นก็สำคัญเพราะอาจจะทำให้เราติดหรือไม่ติดเลยก็ได้ ถามตัวเองก่อนว่าทำไมถึงอยากเรียน เรียนไปแล้วจะเอาความรู้ไปใช้อย่างไรบ้าง และพร้อมสำหรับการเรียนมากน้อยแค่ไหนทั้งเงินและเวลา
1. ค้นหาหัวข้องานวิจัยให้เจอ
มักเป็นปัญหาของหลายๆคนที่เรียนมักจะคิดว่า แล้วจะทำหัวข้องานวิจัยอะไรดี? ในระหว่างที่เรากำลังเรียนในรายวิชาต่างๆนั้น อยากให้หมั่นสังเกตและตั้งคำถามว่ามีโอกาสที่จะประยุกต์ ต่อยอด ในทฤษฎีนั้นๆกับงานวัจัยได้หรือเปล่า หรือแนะนำให้อ่าน paper มากๆโดยเฉพาะในเรื่องที่เรากำลังสนใจ เพราะในส่วนของ Conduction ของ Paper มันจะสรุปถึงข้อจำกัดและแนวทางในการพัฒนาต่อ ทำให้เราสามารถที่จะนำมาเป็นข้อมูลคิดวิทยานิพนธ์เราได้
2. อาจารย์ที่ปรึกษานั้นสำคัญขนาดไหน
อาจารย์ที่ปรึกษาก็เป็นปัจจัยสำคัญมากเช่นกันเพราะเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้เราจบ ไม่จบ หรือจบช้าได้ อาจารย์ที่ปรึกษานั้นที่เปรียบเสมือนหัวหน้างานของเรา ถ้าหัวหน้างานดีหรือเราสามารถเข้ากับหัวหน้างานได้ก็ทำงานสนุกแต่หากไม่ก็อาจทำให้เรียนไม่จบได้เช่นกัน เกณฑ์ที่ควรเลือกหาอาจารย์ที่ปรึกษานั้นได้แก่
- เลือกอาจารย์ที่มีความถนัดกับงานวิจัยที่เราจะทำ การเลือกอาจารย์ที่มีความถนัดกับงานเรานั้นจะช่วยเติมเต็มความรู้ของเราได้และจะง่ายต่อการสอบอีกด้วย ในการทำวิทยานิพนธ์นั้นจะต้องมีการสอบหัวข้อและสอบจบ อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความถนัดกับงานวิจัยของเราจะช่วยให้การสอบของเรานั้นผ่านไปด้วยดี เช่น กรรมการสอบจะถามลึกในบางประเดนซึ่งบางทีเราก็อาจจะตอบไม่ได้ อาจารย์ที่ปรึกษาจะช่วยได้แต่หากอาจารย์ที่ปรึกษาเราไม่ถนัดกับหัวข้องานวิจัยที่เราเลือกแล้ว ก็จะไม่มีใครสามารถช่วยเราได้ก็จะทำให้สอบไม่ผ่านได้
- จัดตารางเวลาของตัวเองกับอาจารย์ที่ปรึกษาให้ดี อาจารย์แต่ละท่านนั้นก็มีเวลาว่างแตกต่างกันไป บางท่านจะจัดเวลาสำหรับให้ 1-2 วันต่อสัปดาห์เลยแต่ส่วนใหญ่อาจารย์จะว่างเวลาในราชการ ซึ่งจะลำบากสำหรับคนที่เรียนเวลานอกราชการต้องจัดตารางเวลาให้ดี ต้องขอหัวหน้างานหรือใช้วันลา บางท่านต้องสอบถามเป็นครั้งๆไป บางท่านอาจจะนัดนอกสถานที่ที่ใกล้บ้านอาจารย์เองเพื่อนัดคุยงาน และที่สำคัญเวลาของตัวเราเองซึ่งเรานะต้องจัดเวลาให้ตรงกันเวลาว่างของอาจารย์ที่ปรึกษาเรา หากเวลาเราไม่ตรงกันอาจารย์หรือไม่ค่อยมีเวลาว่างที่จะเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาเราแล้วก็จะทำให้งานเราคืบหน้าไปได้ช้าซึ่งจะทำให้จบช้าได้ด้วย
- เข้ากับอาจารย์ให้ได้ ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยที่ใหญ่มากมีผลต่อการเรียนจบหรือไม่จบของเราเลยทีเดียว เราต้องมั่นใจก่อนว่าอาจารย์ที่เราเลือกเป็นที่ปรึกษานั้นเราจะสามารถเข้ากับอาจารย์ได้เพราะเราต้องทำงานกับอาจารย์อย่างน้อย 1-2 ปีเลย ในระหว่างเรียนรายวิชาต่างๆช่วงปีแรกนั้นก็หมั่นสังเกตแนวการทำงานของอาจารย์แต่ละท่านได้ บางคนเคยเรียน ป.ตรี อยู่แล้วก็พอจะรู้จักอาจารย์ดีอยู่แล้ว อาจารย์บางท่านไม่เคยเจอแต่อยากให้เป็นที่ปรึกษาให้ก็หมั่นเข้าไปปรึกษาและคุยกับท่านดู หรือสอบถามจากรุ่นพี่ที่เคยเรียนมาก่อน
ในการสอบวิทยานิพนธ์นั้นจะแบ่งเป็นสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์(defense)
สอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์จะเป็นการนำเสนอแนวความคิดของงานวิจัยเราเองว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- งานวิจัยของเราเองไม่ต้องไม่ซ้ำกับใครบนโลกนี้คือเราต้องคิดใหม่ขึ้นมาเลยหรือต่อยอดจากงานวิจัยของคนอื่นก็ได้ สามารถนำแนวความคิดของคนอื่นมาต่อยอดได้ ส่วนใหญ่ ป.โท จะเป็นการต่อยอดมากกว่า เช่น งานวิจัยหนึ่งทำเก้าอี้ 4 ขา งานวิจัยเราก็อาจจะทำเป็นเก้าอี้เหมือนกันแต่มี 3 ขาก็ได้
- สิ่งที่นำเสนอต้องเป็นสิ่งที่ทำได้และไม่ยากจนเกินไป อยากให้ระวังขอบเขตงานของเราเองให้ดีคือต้องไม่ง่ายและไม่ยากจนเกินไปเพราะหากคิดยากเกินไปแล้วจะทำให้มีปัญหาตอนทำการทดลอง อาจทำให้ผลการทดลองล่าช้าหรือการการทดลองไม่สำเร็จซึ่งจะทำให้สอบไม่ผ่านตอนสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ก็ได้ คิดขอบเขตของงานให้ดีๆอะไรที่ทำไม่ได้หรือทำยากก็สามารถเสนอเป็นขอบเขตของงานได้ ทั้งนี้ต้องปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่เสมอ
- การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ เนื่องจากเป็นโครงร่างจะยังไม่เยอะเท่ากับสอบป้องกันวิทยานิพนธ์แต่ก็มีข้อควรระวังก็คือ ต้องเขียนอธิบายให้คนอื่นเข้าใจยิ่ง ป.โท ในสายวิศวนั้นแล้วจะมีศัพท์เทคนิคเยอะมากซึ่งจะต้องเขียนอย่างให้เพื่อให้คนที่ไม่เข้าใจหรืออยู่ในสายงานของเราอ่านแล้วเข้าใจตรงนี้สำคัญสำหรับการเขียนเล่มมาก คิดผิดต้องไม่ให้มีซักตัวเดียวเองแนะนำว่าหาคนช่วยอ่านเยอะๆเพื่อหาคำผิดก่อนส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษา และอีกอันหนึ่งที่สำคัญหรือต้องไม่คัดลอกบทความจากที่อื่นมา ปัจจุบันมีระบบตรวจสอบการคัดลอกหากคัดลอกมาอาจหมดสภาพการศึกษาได้เลย แนะนำว่าให้อ่านจากหลายๆแหล่งละให้เรียบเรียงคำพูดเป็นของตัวเอง
- บรรยากาศการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ ในการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์นั้นจะประกอบไปด้วยอาจารย์ที่ปรึกษาเรา กรรมการสอบท่านอื่นๆ และกรรมการสอบภายนอกมหาวิทยาลัย จะมีอาจารย์ทั้งหมดประมาณ 3-5 ท่านขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยละการเชิญกรรมการท่านอื่นของอาจารย์ที่ปรึกษา การสอบจะใช้เวลา 1.5 - 3 ชั่วโมงเลยทีเดียวขึ้นอยู่กับลักษณะและคำถามของอาจารย์แต่ละท่าน การสอบนั้นเริ่มจากการ Present งานของเรา ประโยชน์ ขอบเขตงาน เป็นต้น โดยการ Present อาจะใช้เวลา 30-50 นาทีหลังจาก Present จบจะเป็นการถามตอบของกรรมการสอบแต่ละท่าน การถามของอาจารย์แต่ละท่านหลักๆจะถามในทฤษฏีที่เราได้นำเสนอไปโดยอาจจะถามเพิ่มเติมหรือถามในสิ่งที่เราไม่ได้พูดเพื่อวัดว่าเราเข้าใจในทฤษฏีที่เรากำลังจะใช้จริงหรือเปล่า นอกจากนั้นยังมีกลุ่มคำถามที่เกี่ยวกับงานวิจัยของเราเอง โดยมักจะถามถึงวิธีที่เราได้นำเสนอในงานวิจัยว่าทำไมต้องทำแบบนั้นเพื่อวัดในสิ่งที่เราตอบมาว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ รวมถึงจะมีการตั้งสมมติฐานของเหตุการณ์ขึ้น เพื่อให้เราตอบว่าถ้ามีกรณีนี้เกิดขึ้นงานวิจัยเราจะให้ผลอย่างไร สิ่งสำคัญของการตอบคำถามตอนสอบวิทยานิพนธ์ต้องพยามอธิบายให้กรรมได้เข้าใจ ตอบตรงประเดินไม่วงวน ส่วนใหญ่แล้วอาจารย์ที่ปรึกษาเราก็จะช่วยในบางประเดนเหมือนกัน แล้วมีกรณีที่คนสอบไม่ผ่านบ้างหรือไม่ จริงๆแล้วก็มีเหมือนกันส่วนใหญ่จะพลาดกันตรงอธิบายไม่รู้เรื่องหรือไม่แม่นในทฤษฏีหรืองานวิจัยของตัวเองจริงๆ หรืองานวิจัยซ้ำกับของคนอื่น การซ้อมเยอะๆจะช่วยให้มั่นใจในการสอบมากยิ่งขึ้น
สอบป้องกันวิทยานิพนธ์หรือสอบจบ ในการสอบนั้นเราจะต้องทำเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูกรณ์ให้เสร็จก่อนที่จะสอบแต่การสอบจบนั้นจะหนักตรงเล่มวิทยานิพนธ์โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ผลการทดลองต้องเป็นไปตามขอบเขตที่ได้กำหนดไว้ แน่นอนว่างานวิจัยเราต้องทำได้ตามขอบเขตที่ได้เขียนไว้ เราต้องแสดงขั้นตอนการทดลองและผลการทดลองเขียนไว้อยู่ในเล่มวิทยานิพนธ์รวมถึงต้องนำเสนอตอนสอบจบต่อกรรมการด้วย หากผลการทดสอบไม่เป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดไว้ อาจารย์ที่ปรึกษาอาจจะไม่ให้เราสอบจบจนกว่าผลการทดสอบจะเป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดไว้
- เขียนเล่มอันแสนยาก การเขียนเล่มจบวิทยานิพนธ์นั้นจะใช้เวลานานเพราะมีหลายหน้าและแต่ละหน้าต้องเขียนขึ้นมาเองและสื่อสารให้เข้าใจ โดยทั่วไปแล้ววิทยานิพนธ์จะประมาณ 60-150 หน้า ขึ้นอยู่กับเนื้องานของแต่ละคน
- สอบจบเป็นอย่างไรบ้าง การสอบจบหรือสอบป้องกันวิทยานิพนธ์นั้นแนวทางจะคล้ายกับการสอบหัวข้อซึ่งโอกาสผ่านนั้นจะสูงกว่าเพราะได้ผ่านการสอบโครงร่างมาแล้วและได้ไป Conference มาแล้วแนวความคิดไม่น่ามีอะไรต้องกังวล แต่อย่างไรก็ตามงานที่ทำออกมาจะต้องทำได้จริง ผลการทดสอบเป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดและต้องแม่นในเนื้อหากรรมการถามจุดไหนก็ต้องตอบได้
4. Conference หรืองานประชุมวิชาการ
Conference เป็นงานเผยแพร่ผลงานทางวิชาการซึ่งเราเองก็ต้องนำเสนอผลงานงานวิจัยของเราเองด้วย ในสายวิศวนั้นหลายมหาวิทยาลัยบังคับให้ตีพิมพ์งานวิจัย และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรเพื่อจบการศึกษา ในการนำเสนอผลงานนั้นเราจะต้องมี Paper หรืองานวิจัยของเราใน version ภาษาอังกฤษส่งให้คนที่จัดงาน Conference ได้ Reveiw ก่อนหาก Paper ของของเราผ่านการ Review ก็สามารถเข้าร่วมงาน Conference เพื่อเสนอผลงานได้ การตีพิมพ์นั้นนั้นจะมีระดับชาติคือตีพิมพ์ในประเทศ และตีพิมพ์ระดับนานาชาติ ใน ป.โท และโดยเฉพาะในสายวิศวแล้วนั้นจะบังคับให้ตีพิมพ์ Paper ระดับนานาชาติซึ่งเราจะต้องเดินทางไปนำเสนอผลงานยังประเทศที่จัดงาน Conference ด้วย ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเบิกกับมหาวิทยาลัยได้
ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มทำ Paper รองาน Conference ไป Conference รวมถึงงานวิจัยเราได้เผยแพร่แล้วนั้นใช้ระยะเวลาพอสมควรจะใช้เวลาประมาณ 3-8 เดือน ซึ่งจะมีผลต่อเวลาที่จะจบของเราได้ เช่น บางมหาวิทยาลัยบังคับว่าต้องไป Conference มาแล้วถืงจะจบได้ บางมหาวิทยาลัยอาจจะต้องมีการเผยแพร่ผลงานก่อนถึงจะจบได้ ดังนั้นหลังจากสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์เสร็จควรจะรีบทำ Peper เพื่อไปงาน Conference ให้เร็วที่สุด
5. จัดเวลาเรียนให้ดี